Bike

Food

Plant

Travel

Woman

Sunday, May 17, 2015

การวางผังห้องครัว

ผังห้องครัวรูปสามเหลี่ยม


  • เมื่อลากเป็นรูปสามเหลี่ยม ควรอยู่ในความยาวประมาณ 4-7 เมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่เดินถึงกันได้ง่าย และไม่ถูกขัดจังหวะด้วยเส้นทางสัญจรอื่น
ผังห้องครัวรูปตัว I (I-Shape Kitchen)














  • เหมาะกับครัวขนาดเล็ก มีผู้ใช้งาน 1-2 คน
  • อุปกรณ์ครัวที่จำเป็นเรียงตามการใช้งานก่อนหลังจากซ้ายไปขวา เริ่มจากตู้เย็น อ่างล้างจาน และเตา
  • ตู้เก็บของสามารถจัดวางเคาน์เตอร์ลอยติดผนัง เพื่อประหยัดพื้นที่
  • ครัวควรมีความกว้าง อย่างน้อง 2 เมตร
ผังห้องครัวรูปตัว I 2 ด้าน (Gallery Kitchen)














  • อุปกรณ์ครัวทุกอย่างจะอยู่บนเคาน์เตอร์ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่เหลือสำหรับใช้วางของ หรือเก็บของมากขึ้น
  • จำเป็นต้องมีระยะสำหรับเปิดตู้หรือลิ้นชักเผื่อไว้อย่างน้อย 1.20 เมตร ไม่เช่นนั้นการก้มหยิบของ ที่อยู่ชั้นล่างจะทำได้ลำบาก
  • ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ในผังครัวแบบนี้จะแตกต่างออกไป เช่น ผนังด้านที่ได้รับแสงอาจมีเคาน์เตอร์พร้อมอ้างล้างจาน และมีพื้นที่สำหรับวางจาน หรือที่เก็บจาน
  • อีกฝั่งเป็นตู้เย็น และเตา ระยะห่างระหว่างตู้เย็น และเตาควรเป็นพื้นที่สำหรับเตรียมอาหารสด หรือวางเครื่องปรุง ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการทำอาหาร
  • หากพื้นที่จำกัดแต่ต้องมีครัวลักษณะนี้ก็ควรระวังเรื่องการเปิด - ปิดตู้ อาจจะเป็นบานตู้เป็นแบบบานเลื่อนแทนบานสวิงเพื่อประหยัดเนื้อที่
  • ถ้าไม่มีหน้าต่างในครัวเลยอาจใช้ผนังตรงกลางห้องเจาะทำเป็นหน้าต่างเพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามาถึง
  • ถ้าพื้นที่ครัวเป็นทางเชื่อมต่อไปยังอีกห้อง หากมีคนเดินผ่านไปมา อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกสำหรับผู้ที่กำลังใช้งานครัวอยู่
ผังครัวรูปตัวแอล (L-Shape Kitchen)














  • ครัวรูปแบบหนึ่งที่ทำให้การใช้งานภายในครัวเกิดความสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากครัวที่จะจัดเป็นรูปแบบนี้ได้ต้องมีพื้นที่พอสมควร
  • รูปแบบการวางผัง ที่เป็นรูปตัวแอล ทำให้เกิดพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ในการทำครัวไม่ถูกรบกวนจากการสัญจรไปมา และยังมีพื้นที่สำหรับบรรจุเครื่องใช้ในครัวต่างๆ ได้มากจึงเหมา ะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำอาหารเป็นอย่างยิ่ง
  • ถ้าตำแหน่งของครัวรูปตัวแอลนี้อยู่บริเวณมุมบ้าน ผนังทั้ง 2 ด้านของครัว สามารถเจาะช่องเปิด เป็นหน้าต่างเพื่อรับแสงได้อย่างเต็มที่
  • จุดอับตรงมุมของตัวแอลมักเป็นจุดที่ใช้งานลำบาก ควรเลือกติดตั้งชุดสำหรับ เข้ามุมโดยเฉพาะหรือติดตั้งชุดอุปกรณ์เปิด - ปิดที่ช่วยให้ดึงออกมาใช้งานได้ง่าย หรืออาจตัดมุมตรงนั้นออกแล้วติดตั้งอ่างล้างจานหรือเตาทำอาหารแทน 
ผังครัวรูปตัวยู (U-Shape Kitchen)
















  • เป็นครัวที่มีพื้นทีที่สามารถใช้งานได้มากที่สุด ทั้งเคาน์เตอร์และตู้เก็บของต่างๆ จะวิ่งไปตามผนังทั้ง 3 ด้านของห้อง
  • อุปกรณ์ครัวต่างๆ ถ้าเป็นแบบบิลท์อิน ส่วนมากจะฝังลงไปในเคาน์เตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเตา อ่างล้างจาน เครื่องดูดควัน ซึ่งควรจะอยู่คนละด้านกัน
  • ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ มักอยู่บนแนวผนังทั้ง 3 ด้านของรูปตัวยู
  • ครัวรูปแบบนี้ได้รับการออกแบบมาให้รองรับ การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับหลักการรูปสามเหลี่ยมมากที่สุด
  • ระยะทางเส้นรอบรูปของ รูปสามเหลี่ยมในครัวไม่ควรเกิน 4 - 7 เมตร เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานต้องเสียเวลา เดินมากขึ้น แต่ถ้าคับแคบเกินไปจะทำให้รู้สึกอึดอัด หยิบจับอะไรไม่ถนัด
  • ะยะห่างระหว่างทั้ง 2 ด้านของครัวอย่างน้อยประมาณ 1.5 - 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้งานอย่างน้อย 2 คนสามารถทำครัวได้อย่างสะดวก
  • ที่ว่างในครัว สามารถจัด เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เช่นเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร โดยใช้เคาน์เตอร์หรือเฟอร์นิเจอร์มากั้นเพื่อแบ่งพื้นที่ หรือถ้าปล่อยให้เปิดโล่งเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนอื่น ก็สามารถทำได้ แล้วใช้บานเฟี้ยมปิดเมื่อไม่ใช้งาน
  • ถ้ากำหนดตำแหน่งของประตูที่เข้าห้องครัวไม่ดีอาจกีดขวางความต่อเนื่องของพื้นที่ใช้งาน
  • ครัวรูปตัวยูมีพื้นที่มาก สามารถมีที่เก็บของได้มาก แต่ถ้าจัดพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจต้องเสียเวลาเดินมากกว่าปกติ
ผังครัวรูปตัวจี (G-Shape Kitchen)

















  • เป็นครัวที่ออกแบบเพื่อใช้งานต่อเนื่องจากครัวรูปตัวยู มีรูปแบบการใช้งาน คล้ายครัวรูปตัวยูทุกอย่าง แต่สิ่งที่เพิ่มมาคือเพนนินซูล่า เป็นเคาน์เตอร์ที่อยู่ตรงกลางห้อง เพื่อให้เป็นส่วนรับประทานอาหารเล็ก ๆ คล้ายมินิบาร์ สำหรับ 2 - 4 ที่นั่ง อยู่ที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งของตัวยู
  • เพนนินซูล่ามักออกแบบ ให้ต่อเนื่องเป็น ส่วนหนึ่ง ของเคาน์เตอร์ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือพับเก็บได้ ด้านล่างทำเป็นลิ้นชักสำหรับเก็บข้าวของ หรือเปิดโล่งเพื่อเก็บเก้าอี้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • พื้นที่บริเวณเพนนินซูล่านี้ อาจไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหาร มื้อใหญ่อย่างมื้อเย็น ที่มีสมาชิกมาก แต่เหมาะสำหรับเป็นที่รับประทานอาหารเช้า หรือพื้นที่เตรียมเสิร์ฟอาหารหากมีงานเลี้ยงภายในบ้าน
ผังครัวแบบมีเกาะกลาง (Island Kitchen)
  • เหมาะสำหรับครัวที่มีพื้นที่ใช้สอยมากเพราะมีการใช้ผนังครัวทั้ง 4 ด้าน เกาะกลาง หรือไอส์แลนด์ที่เพิ่มขึ้นมาสามารถใช้เป็นอ่างล้างจาน เตาปรุงอาหาร ที่วางของ หรือโต๊ะรับประทานอาหารก็ได้ หลายคนอาจคิดว่า เกาะกลางนี้จะต้องเป็นแบบถาวร แต่ในความเป็นจริงเกาะกลางนี้ สามารถใส่ล้อแล้วเคลื่อนย้ายได้
  • รูปแบบของเกาะกลางนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้งานเกาะกลางนั้นอย่างไรบ้าง บางบ้านไม่มีความจำเป็นมากก็อาจจะทำเป็นเพียงเคาน์เตอร์เท่านั้น แต่ส่วนมากมักจะเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีลิ้นชักสำหรับเก็บข้าวของด้านล่าง ท็อปเคาน์เตอร์ด้านบนเป็นวัสดุปิดผิวที่แข็งแรง ทนทานต่อการขูดขีด
  • สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือเมื่อเกาะกลางไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่สำหรับวางของหรือรับประทานอาหารเท่านั้น หากจะใช้เกาะกลางเป็นพื้นที่สำหรับล้างจาน เตาปรุงอาหาร ติดตั้งเครื่องดูดควัน ซึ่งล้วนแต่มีงานระบบมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำ ระบบไฟ หรือระบบระบายอากาศ แต่เดิมนั้นงานระบบเหล่านี้อาจอยู่ตามแนวผนัง แต่เมื่อย้ายมาอยู่ตรงกลาง ทั้งสายไฟ ท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้ง และท่อระบายอากาศ ก็ต้องเดินตามมาด้วย ซึ่งถ้าเป็นครัวที่ก่อสร้างใหม่ก็เพียงเดินท่อต่าง ๆ เพิ่มก่อนจะฉาบปูนปิดไว้ แต่ถ้าเป็นการต่อเติมอาจจะต้องทุบพื้นเพื่อฝังท่อกลายเป็นเรื่องใหญ่โต ยุ่งยาก จึงไม่นิยมทำ แต่อาจหาวิธีอื่น เช่น เดินท่อลอย ซึ่งดูแล้วไม่สวยงาม
  • ครัวที่มีเกาะกลางซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้นั้นต้องมีระยะห่างระหว่างผนังด้านต่าง ๆ ถึงเกาะกลางอย่างน้อยด้านละ 1.2 เมตร เพื่อที่จะเปิดตู้หยิบของได้อย่างสะดวก ความสูงของเกาะกลางประมาณ 90 เซนติเมตร แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของผู้ที่ใช้ครัวเป็นประจำ จะปรับขึ้นหรือลงก็ได้แล้วแต่ความสะดวกในการใช้งาน 
พื้นห้อง
  • พื้นห้องควรลดระดับต่ำกว่าส่วนอื่นของบ้านประ มาณ 10 ซม. เพื่อเวลาทำความสะอาดพื้นหรือล้างพื้นห้อง น้ำจะได้ไม่ไหลเปรอะเปื้อนห้องอื่น
  • ควรให้พื้นมีความลาดเอียงเล็กน้อยสำหรับการไหลของน้ำลง ท่อระบายน้ำ
  • พื้นกระเบื้อง พื้นหินขัด ซึ่งทนทาน ต่อการใช้งาน รักษาความสะอาดได้ง่าย แต่ค่อนข้างเย็น
  • พื้นไม้ซึ่งให้ ความอบอุ่น สวยงาม แต่จะสกปรกง่าย
  • ไวนิล ที่มีลวดลายสวยงาม การดูแลรักษาความสะอาด ทำได้ง่าย แต่ไวนิลนั้น จะชำรุดง่ายเช่นกัน
เพดาน
  • การเลือกใช้วัสดุแผ่นเรียบโดยทั่วๆไป อันได้แก่ กระเบื้อง ไม้อัด ยิปซั่มบอร์ด วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่น่าใช้งานมากที่สุด
  • ทาสีโทนอ่อน เพื่อช่วยให้ห้องดูสว่างขึ้น
ผนัง
  • ควรเป็นจำพวกกระเบื้องเคลือบที่มีผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป
  • ผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนธรรมดา ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะก่อให้เกิดความสกปรกได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก
ระบบถ่ายเทอากาศ
  • ควรจะติดหน้าต่างไว้หลายๆบาน เพื่อเปิดรับแสง ธรรมชาติ เพราะแดดยามบ่าย สามารถจะช่วย ฆ่าเชื้อโรค ไล่ความเปียกชื้น ความอับทึบให้กับครัวได้
  • ครัวในเมือง อาจใช้การติดพัดลม ระบายอากาศเหนือเตา เพื่อดูดควันอาหาร ออกไปข้างนอก ช่วยลดกลิ่นต่างๆ หรือจะติด เครื่องดูดกลิ่น และควันที่ด้านบนของเตาได้
ระบบน้ำในครัว
  • งานระบบน้ำในห้องครัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนน้ำใช้กับส่วนน้ำทิ้ง
  • สำหรับบ้านบางหลัง อาจติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนเพิ่ม เพื่อให้สามารถล้างทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดจานชามได้ง่ายขึ้น
  • เนื่องจากน้ำทิ้งจากครัวมีคราบไขมันอยู่มาก ทำให้ท่อน้ำทิ้งจากครัวอุดตันและส่งกลิ่นเหม็น ดังนั้นจึงควรติดตั้งบ่อดักไขมันจากท่อน้ำทิ้งที่มาจากครัว เพื่อช่วยพักน้ำเสียที่มาจากอ่างล้าง และท่อระบายน้ำในครัวก่อนจะระบายสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะต่อไป
ความสว่าง
  • ควรทาสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิคกึ่ง เงาแทนการใช้สีน้ำพลาสติคสำหรับทาภายในทั่วไป เนื่องจากจะคงทนกว่า และทำความสะอาดคราบเขม่า คราบควัน ที่เกิดจากการหุงต้มอาหารได้ดีกว่าสีน้ำมันทั่วไป
การจัดวางแผนผังห้องครัว
  • การวางเตา อ่างล้าง และตู้เย็น ควรวางให้อยู่ใกล้กัน เพื่อความคล่องตัว ขณะปรุงอาหารยิ่งขึ้น
  • เคาน์เตอร์หรือโต๊ะวางเตา ควรเลือกให้มีความสูง ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 900 ม.ม. หรือ 3 ฟุต
  • แต่ถ้าจะวางอ่างล้างควรเพิ่มให้สูงกว่านั้นอีก 75 ม.ม. หรือ 3 นิ้ว
  • ควรให้มีที่ว่างข้างเตา เพื่อเตรียมไว้สำหรับวาง เครื่องประกอบอาหาร และจานชามได้
  • การวางตู้เก็บของหรือภาชนะต่างๆ ควรกำหนดให้อยู่ใกล้ อุปกรณ์ที่ใช้ ร่วมกัน เช่น ตู้เก็บกระทะ หม้อ หรือ ชั้นวางเครื่องปรุงต่างๆ ควรอยู่ใกล้เตา ตู้เก็บจานควรอยู่ใกล้อ่างล้าง เพื่อสะดวกในการเก็บเข้าที่ หรือหยิบใช้ได้สะดวก
  • ควรมีที่เสียบปลั๊กสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อย่างน้อย 2 แห่ง 












เครดิต:
  • http://www.novabizz.com/CDC/Home_Design/Kitchen_11.php 
  • http://www.novabizz.com/CDC/KitchenRoom.htm
  • http://www.novabizz.com/CDC/Home_Design/Kitchen_12.php
  • http://www.novabizz.com/CDC/Home_Design/Kitchen_17.php

Friday, May 15, 2015

เทคนิคการปูพื้นแกรนิตโต้

อุปกรณ์
  1. เกรียงหวี ไว้ปรับเกลี่ยปูนและใช้ปาดปูนกาว
  2. ค้อนยาง ใช้สำหรับทุบรือเคาะเพื่อให้กระเบื้องแน่นและได้ระดับเสมอกัน
  3. แปรงสลัดน้ำ เอาไว้สลัดน้ำทำความสะอาดพื้นก่อนปูกระเบื้อง (ต้องล้างพื้นก่อน1เที่ยว)
  4. เอ็นสำหรับขึงแนวกระเบื้อง
  5. ระดับน้ำ เอาไว้เช็คระดับความสูง-ต่ำของกระเบื้องปูพื้น

วัสดุก่อสร้างที่ต้องใช้
  1. กระเบื้องแกรนิตโต้
  2. ปูนกาวสำหรับปูกระเบื้อง
  3. ปูนยาแนว
  4. ปูนซีเมนต์ผสม สำหรับผสมทรายเพื่อทำปูนปรับระดับก่อนปูกระเบื้อง
  5. ทรายหยาบ

เทคนิคช่างวิธีปูกระเบื้องแกรนิตโต้ (ปูพื้นบ้านชั้นล่าง)
  • เมื่อวางกระเบื้องปูพื้นลงไปแล้วมันจะติดหรือและจะมีโอกาสร่อนหลุดหรือเปล่า ช่างเขาใช้เทคนิคแบบนี้ครับ ก่อนที่จะวางกระเบื้องกลับลงไปบนปูนที่ปรับไว้ตั้งแต่ตอนแรก ขั้นตอนนี้เขาก็จะใช้ปูนกาวปาดลงไปที่แผ่นกระเบื้องให้ทั่วทั้งแผ่นแล้ววางลงไป จากนั้นก็เคาะด้วยด้ามค้อนให้แน่น หรือ จะใช้ค้อนยางทุบก็ได้ มันก็จะแน่นและเรียบเสมอกันเพราะได้ทุบปรับไว้ก่อนแล้ว (ก่อนที่จะยกออกมาใส่ปูนกาว)
  • ส่วนปูนปรับระดับที่ดูร่วนๆ นั้นอาจจะสงสัยว่าแล้วมันจะแข็งหรือ? แข็งแน่นอนไม่ต้องห่วงเพราะปูนได้ผสมกับน้ำแล้ว เมื่อปูนผสมกับน้ำแล้วมันก็จะเกิดการทำปฎิกิริยาครับแล้วมันก็จะแข็งตัวในที่สุด
  • เทคนิคการปูกระเบื้องแกรนิตโต้แบบนี้ จะทำให้เมื่อปูกระเบื้องพื้นเสร็จแล้วกระเบื้องที่ปูจะแน่น โอกาสที่จะเกิดการกลวงใต้แผ่นน้อยมากและพื้นจะราบเรียบสวยงาม
  • การปูกระเบื้องตามแนวลูกศรที่อยู่ใต้แผ่นกระเบื้อง ควรปูกระเบื้องให้ลูกศรหันไปในทิศทางเดียวกัน เพราะโทนสีหรือลายของกระเบื้องจะไปในทิศทางเดียวกัน ลายกระเบื้องจะไม่ย้อนกันไปย้อนกันมา
  • ปูกระเบื้องให้แนวห่างประมาณ 2 ม.ม.
  • เว้นร่องสุดท้ายที่ชนกับผนังทุกด้านให้ใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ประมาณ 5 ม.ม. โดยเอาบัวผนังที่พื้นปิดทับซ่อนเอาไว้ เพื่อให้ปูนที่ปูกระเบื้องหากมีการขยายตัวตัวกระเบื้องจะได้ขยายตัวออกทางด้านข้างได้
  • ก่อนปูให้ช่างเอากระเบื้องชุบน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้กระเบื้องแย่งน้ำจากปูน (ลดรอยด่างบนกระเบื้องได้ด้วย)
  • ปูกระเบื้องแกรนิโต้ (พอร์ซเลน) ใช้ปูนกาวประเภทดูดซึมน้ำต่ำ
  • ต้องใช้ non shrink cement ในการปู
  • ใช้การปูแบบปูนแห้งและใช้ปูนกาวทาก่อนปูอีกชั้นหนึ่ง
  • เตรียมพื้นด้วยปูนทรายให้แห้งก่อนสัก 3-7 วัน เวลาจะปูให้ใช้กาวซิเมนต์ปาดที่พื้นแล้วใช้หวีปาดอีกครั้ง แล้วจึงป้ายกาวที่กระเบื้องให้เต็ม ถึงจะเอาแกรนิตโต้วาง


เครดิต